บทนำสุภาษิ<o:p style="color: inherit; font-family: inherit; background-color: rgb(255, 255, 255);"></o:p>ต

ตอนที่ 1 บทนำทั่วไป<o:p></o:p>

โครงเรื่องของสุภาษิต
  1. ซาโลมอนแนะนำบรรดาสุภาษิตของเขา (1:1–7)

  2. การรวบรวมบรรดาคำสอน (1:8–9:18)

  3. สุภาษิตของซาโลมอน (10:1–22:16)

  4. บรรดาถ้อยคำของพวกนักปราชญ์ (22:17–24:22)

  5. บรรดาถ้อยคำอื่นๆ ของพวกนักปราชญ์ (24:23–34)

  6. บรรดาสุภาษิตอื่นๆ ของซาโลมอน (25:1–29:27)
  7. บรรดาถ้อยคำของอากูร์ (30:1–33)

  8. บรรดาถ้อยคำของลามูเอล (31:1–9)

  9. คำสรรเสริญภรรยาที่ดี (31:10–31)

พระธรรมสุภาษิตเกี่ยวกับอะไร?

สุภาษิตคือคำกล่าวอย่างสั้นซึ่งแสดงถึงปัญญาหรือความจริงบางอย่าง สังคมส่วนใหญ่มีสุภาษิตเป็นของพวกเขาเอง ประชาชนผู้ซึ่งพูดภาษาที่กำหนดไว้สามารถเข้าใจบรรดาสุภาษิตในภาษานั้นๆ ได้อย่างง่ายดาย 

พระธรรมสุภาษิตเป็นการรวบรวมบรรดาสุภาษิต สุภาษิตยังประกอบไปด้วยคำสอนต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการดำเนินชีวิตอย่างมีปัญญาอีกด้วย  นักวิชาการอ้างถึงสุภาษิต สดุดี ยาโคบ ปัญญาจารย์ และเพลงซาโลมอนว่าเป็นวรรณกรรมทางปัญญา (ดูที่: /WA-Catalog/en_tm?section=translate#writing-proverbs)

ชื่อของพระธรรมนี้ควรแปลว่าอย่างไร?

ชื่อของพระธรรมนี้มักจะถูกแปลว่า "สุภาษิต" การแปลทั่วไปอีกอย่างหนึ่งจะเป็น "บรรดาถ้อยคำสำหรับคนที่มีปัญญา" "บรรดาถ้อยคำซึ่งให้ปัญญา" หรือ บางชื่อที่คล้ายกัน

ใครคือผู้เขียนพระธรรมสุภาษิต?

สุภาษิตเริ่มต้นด้วยถ้อยคำ "สุภาษิตของซาโลมอน บุตรชายของดาวิดและกษัตริย์ของอิสราเอล" แต่ซาโลมอนไม่ได้เขียนสุภาษิตทั้งหมด นักปราชญ์ผู้ไม่ออกนามอาจเป็นผู้เขียนบางสุภาษิต อากูร์ผู้บุตรชายของยาเคห์ (30:1) และ กษัตริย์ลามูเอล (31:1) ระบุถึงตัวของพวกเขาว่าเป็นผู้เขียนบางสุภาษิต<o:p></o:p>

ตอนที่ 2: ศาสนาและแนวคิดด้านวัฒนธรรมที่สำคัญ

ความหมายของ "ปัญญา" และ "ความโง่เขลา" ในพระธรรมสุภาษิตคืออะไร?

"ปัญญา" หมายถึง ความเข้าใจและการกระทำว่าอะไรคือความจริงและสิทธิทางด้านศีลธรรม ผู้มีปัญญาเข้าใจและกระทำสิ่งซึ่งพระยาห์เวห์จะทรงตัดสินว่าถูกต้องบุคคลใดก็ตามดำเนินชีวิตในทางนี้จะเรียนรู้การดำเนินชีวิตที่ดีร่วมกับผู้อื่นและทำการตัดสินใจปฏิบัติในสิ่งที่ดีได้อีกด้วย พระธรรมสุภาษิตยังยอมรับด้วยว่าการรักษาเกียรติหรือชื่อเสียงของคนๆ หนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ คนเหล่านั้นผู้ซึ่งดำเนินชีวิตล้มเหลวในทางนี้ถูกเรียกว่า "โง่เขลา" ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นไปได้ว่าบุคคลหนึ่งที่มีความฉลาดอย่างมาก แต่ก็ยังคงโง่เขลา (ดูที่: /WA-Catalog/en_tw?section=kt#wise และ /WA-Catalog/en_tw?section=kt#foolish)

ตอนที่ 3: ประเด็นสำคัญสำหรับการแปล

รูปแบบเฉพาะตัวของสุภาษิตคืออะไร

<o:p></o:p>?

สุภาษิตส่วนใหญ่มีสองส่วนหรือสองบรรทัดที่เป็น "คู่ขนาน" กัน ในส่วนที่สองอาจจะเสริมส่วนแรก อาจจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนแรกมากขึ้น หรืออาจจะพูดในสิ่งที่ดูเหมือนตรงกันข้ามกับส่วนแรก ผู้แปลควรพิจารณาว่า สุภาษิตแต่ละบทนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสุภาษิตกลุ่มใหญ่ (ดูที่: /WA-Catalog/en_tm?section=translate#figs-parallelism)

การยกตัวอย่างโดยเปรียบเทียบเป็นบุคคลจะอธิบายในการแปลได้อย่างไร?

คุณสมบัติที่เด่นชัดอย่างเช่น สติปัญญาและความเข้าใจมักจะถูกอธิบายว่าเป็นเหมือนกับพวกผู้หญิงที่มีปัญญา สุภาษิต 3:15-18 สุภาษิต 4:6-9 และในที่อื่นๆ ในภาษาต่างๆ ที่สามารถใช้รูปแบบคำพูดสำหรับผู้หญิงคนหนึ่งเพื่ออธิบายถึงคุณสมบัติเหล่านี้ ผู้แปลควรใช้คำเหล่านั้น แต่ก็มีอีกหลายภาษาที่ไม่สามรถแปลตรงตัวเช่นนี้ได้ ในกรณีเช่นนี้ ผู้แปลอาจสามารถแปลตัวอย่างที่เปรียบเทียบเป็นบุคคลเหล่านี้ให้เป็นการเปรียบเทียบแทน  นี่หมายถึงการยกตัวอย่างนี้จะแสดงถึงปัญญาและความเข้าใจเหมือนกับเป็นผู้หญิงฉลาดซึ่งผู้คนควรเชื่อฟัง (ดูที่:/WA-Catalog/en_tm?section=translate#figs-personification)