บทนำกันดารวิถี

ตอนที่ 1 บทนำทั่วไป

โครงเรื่องกันดารวิถี

  1. การเตรียมตัวออกจากซีนาย (1:1-10:10) 

            ๐ การนับจำนวนและการรวมตัวของเผ่าต่างๆ (1:1-4:49)

            ๐ กฎระเบียบต่างๆ (5:1-6:27)

            ๐ การถวายเครื่องบูชา (7:1-89)

            ๐ การตั้งคันประทีป (8:1-4)

            ๐ การแยกคนเลวีไว้เฉพาะ (8:5-29) 

            ๐ การถือปัสกาครั้งที่สอง เมฆนำทางพวกเขา แตรต่างๆ (9:1-10:10)

  1. จากซีนายถึงโมอับ ผ่านถิ่นทุรกันดาร (10:11-17:13)

            ๐ การต่อว่าและการบ่น (10:11-11:15)

            ๐ นกคุ่ม (11:16-35)

            ๐ โรคเรื้อนของมิเรียม  (12:1-16)

            ๐ การเลือกผู้สอดแนมและส่งไป (13:1-14:45)

            ๐ คำสั่งต่างๆ (15:1-41)

            ๐ กบฏโคราห์ (16:1-17:13)

  1. พวกปุโรหิตและการชำระให้บริสุทธิ์ (18:1-19:22)

            ๐ พวกปุโรหิตและพวกเลวี (18:1-32)

            ๐ กฎหมายเกี่ยวกับการชำระให้บริสุทธิ์ (19:1-22)

  1. ความขัดแย้งต่างๆ (20:1-21:35)

            ๐ การเสียชีวิตของมิเรียม (20:1-13)

            ๐ การปฏิเสธของเอโดมและการเสียชีวิตของอาโรน (20:14-29)

            ๐ การเดินทางสู่โมอับ (21:1-35)

  1. ที่ราบโมอับ (22:1-36:13)

            ๐ บาลาอัม (22:1-24:25)

            ๐ บาอัลเปโอร์ (25:1-18)

            ๐ การนับจำนวนครั้งที่สอง (26:1-65)

            ๐ สิทธิการได้รับมรดกของบุตรหญิง (27:1-11)

            ๐ โยชูวาผู้สืบทอดต่อจากโมเสส (27:12-23)

            ๐ การถวายเครื่องบูชา และการlสาบานของพวกผู้หญิง (28:1-30:16)

            ๐ สงครามคนมีเดียน (31:1-54)

            ๐ การข้ามแม่น้ำจอร์แดน (32:1-42)

            ๐ ประชาชนตั้งค่ายพัก (33:1-56)

            ๐ แผ่นดินฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เมืองต่างๆ สำหรับพวกเลวี  

และเมืองต่างๆ สำหรับพวกผู้ลี้ภัย

            ๐ การสมรสของผู้หญิงผู้รับมรดก (36:1-13)

หนังสือกันดารวิถีมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร?

หนังสือกันดารวิถีบอกเกี่ยวกับประชาชนอิสราเอลขณะที่พวกเขาเดินทางจากภูเขาซีนายในถิ่นทุรกันดารไปยังแม่น้ำจอร์แดน ในขณะที่เดินทาง คนอิสราเอลก็ท้อถอย ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงกบฏต่อพวกผู้นำผู้ที่พระเจ้าทรงประทานแก่พวกเขา ที่แม่น้ำจอร์แดน ประชาชนอิสราเอลปฏิเสธที่จะเข้าไปยังแผ่นดินแห่งพระสัญญา เพราะคนอิสราเอลกลัวและไม่วางใจในพระเจ้า พระองค์จึงทรงทำให้พวกเขาเข้าไปในแผ่นดินพันธสัญญาล่าช้าไปถึงสี่สิบปี (13:1-14:45) (ดูที่ : /WA-Catalog/en_tw?section=kt#promisedland)

ชื่อของหนังสือเล่มนี้ควรจะแปลอย่างไร?

ชื่อของหนังสือเล่มนี้ "กันดารวิถี" หมายถึงตอนที่มีการนับจำนวนคนอิสราเอล ภาษาของคนที่ทำโครงการนี้อาจจะคล้ายคลึงกับชื่อ "กันดารวิถี" อยู่แล้ว จากพระคัมภีร์ฉบับอื่นๆ ถ้าไม่คล้ายคลึงกัน ผู้แปลอาจจะพิจารณาชื่อของหนังสือเล่มนี้ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น "การนับจำนวนประชากรอิสราเอล" (ดูที่ : /WA-Catalog/en_tw?section=other#census)

ใครเป็นผู้เขียนหนังสือกันดารวิถี?

ผู้เขียนพระคัมภีร์ทั้งภาคพันธสัญญาเดิมและภาคพันธสัญญาใหม่ต่างก็เห็นว่าโมเสสเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างมากในการเขียนหนังสือกันดารวิถี แต่อย่างไรก็ตาม ในสมัยต่อมา พวกธรรมาจารย์และพวกปุโรหิตก็ทำให้หนังสือเป็นรูปแบบปัจจุบัน พวกเขาได้รวมเนื้อหาจากแหล่งอื่นๆ หนึ่งในแหล่งนั้น คือ "หนังสือม้วนของสงครามแห่งพระยาห์เวห์" (21:14)

ตอนที่ 2 แนวความคิดเกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรมต่างๆ ที่สำคัญ

กันดารวิถีได้นำเสนอแนวความคิดอย่างไรเกี่ยวกับการที่ชุมชนทั้งหมดต้องรับผิดชอบ เมื่อคนเพียงไม่กี่คนได้ทำบาป?

ผู้คนได้เข้าใจและสรุปได้ว่าพระเจ้าจะทรงลงโทษชุมชนทั้งหมดของอิสราเอล ถ้าบางคนในพวกเขากบฏต่อพระองค์ พระเจ้าทรงมักจะทำการลงโทษทั้งชนชาติ เมื่อบางคนในพวกเขาทำบาป ผู้คนทั้งหมดใกล้ตะวันออกโบราณจะเข้าใจและคาดว่าเป็นเช่นนี้ แต่อย่างไรก็ตาม โมเสสและอาโรนได้อธิษฐานต่อพระเจ้าเพื่อที่จะทรงลงโทษเฉพาะผู้ที่กระทำผิดเท่านั้น

ตอนที่ 3 ประเด็นการแปลที่สำคัญ

ทำไมโมเสสจึงพูดเกี่ยวกับตัวเองโดยการใช้สรรพนามบุรุษที่สาม?

เมื่อผู้แต่งเขียนเกี่ยวกับบางสิ่งที่เขารวมอยู่ด้วย ก็จะเป็นเรื่องธรรมดาที่เขาจะใช้สรรพนามว่า "เขา" แทนที่จะใช้ "ข้าพเจ้า" หรือใช้คำ "พวกเขา" แทนคำว่า "เรา" นักแปลอาจจะเลือกใช้สรรพนามธรรมดาทั่วไปของโครงการแทนก็ได้