พระเจ้าทรงสัญญาลงโทษต่ออาณาจักรเหนือและอาณาจักรใต้ (1:1–16)
คนเหล่านั้นที่หาผลประโยชน์จากคนอื่นๆ ย่อมมีความผิด (2:1-3:12)
ชัยชนะของพระยาห์เวห์เพื่อคนอิสราเอลทั้งหมด (4:1-5:15)
พระยาห์เวห์ทรงมีคดีต่อคนอิสราเอล (6:1-16)
คนอิสราเอลทุกข์ยากและคนอิสราเอลได้รับการนำกลับคืนสู่สภาพเดิม (7:1-20)
พระธรรมนี้บรรจุคำเผยพระวจนะมากมายของมีคาห์ มีคาห์ย้ำถึงคำเผยพระวจนะอย่างเดียวกันจำนวนมากที่พบในอิสยาห์ มีคาห์ได้เตือนอาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์ว่าชาวอัสซีเรียจะโจมตีพวกเขาในไม่ช้า มีคาห์กล่าวโทษคนเหล่านั้นที่กระทำอย่างไม่ยุติธรรมและชั่วช้า เขาพูดต่อต้านคนเหล่านั้นที่ไม่ทำงานเลี้ยงชีพ เขาพูดต่อต้านพวกผู้เผยพระวจนะเท็จในอิสราเอลและยูดาห์ด้วย พวกผู้เผยพระวจนะเท็จเหล่านี้กำลังบอกประชาชนว่าพระยาห์เวห์จะไม่ทรงปล่อยให้อาณาจักรของคนต่างชาติมาทำอันตรายและพิชิตพวกเขาได้
มีคาห์เรียกให้ประชาชนทำให้พระเจ้าทรงพอพระทัยโดยการดำเนินชีวิตอย่างชอบธรรมและบริสุทธิ์ แต่วิถีแห่งความบาปที่พวกเขาดำเนินอยู่นั้นกับวิถีแห่งความอยุติธรรมที่พวกเขาปฏิบัติต่อเพื่อนบ้านของพวกเขาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาไม่ต้องการเชื่อฟังและถวายเกียรติพระยาห์เวห์อีกต่อไป (ดูที่: /WA-Catalog/en_tw?section=kt#prophet, /WA-Catalog/en_tw?section=kt#justice, /WA-Catalog/en_tw?section=kt#righteous และ /WA-Catalog/en_tw?section=kt#holy และ /WA-Catalog/en_tw?section=kt#faith)
ผู้แปลอาจตัดสินใจแปลโดยใช้คำตามประเพณีคือ "พระธรรมมีคาห์" หรือใช้แค่คำว่า "มีคาห์" ที่เป็นคำที่มีความชัดเจนสำหรับผู้อ่าน พวกเขาอาจตัดสินใจเรียกว่า "คำกล่าวของมีคาห์" ก็ได้ (ดูที่: /WA-Catalog/en_tm?section=translate#translate-names)
ผู้เผยพระวจนะมีคาห์น่าจะเป็นคนที่เขียนพระธรรมนี้ มีคาห์มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยเดียวกันกับอิสยาห์และโฮเชยา คือในช่วงระหว่าง 750-700 กคศ. สมัยการปกครองของโยธาม อาหัส และเฮเซคียาห์ ผู้เป็นกษัตริย์ของยูดาห์ เขาเริ่มต้นการเผยพระวจนะเมื่อเขาอาศัยอยู่ในอาณาจักรเหนือของอิสราเอล จากนั้นเขาได้ย้ายไปที่อาณาจักรยูดาห์
มีคาห์มักจะกล่าวถึงกษัตริย์องค์หนึ่งที่เป็นผู้ช่วยกู้ประชาชน เป็นที่ชัดเจนว่ามีคาห์หมายถึงพระเมสสิยาห์ เชื้อสายของดาวิดผู้ที่จะปกครองนิรันดร์ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่เคยกล่าวถึงพระองค์ในฐานะพระเมสสิยาห์ก็ตาม (ดูที่: /WA-Catalog/en_tw?section=other#deliverer และ /WA-Catalog/en_tw?section=kt#christ)
ผู้เขียนพันธสัญญาเดิมจำนวนมากที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการถวายเครื่องบูชาต่างๆ ตามกฎบัญญัติของโมเสส แต่มีคาห์ได้อธิบายให้กับประชาชนพระยาห์เวห์ทรงพอพระทัยเฉพาะเครื่องบูชาที่พวกเขาถวายด้วยความเชื่อเท่านั้น โดยปราศจากความเชื่อ เครื่องบูชาต่างๆ ก็ไร้ความหมาย (ดูที่: /WA-Catalog/en_tw?section=kt#lawofmoses และ /WA-Catalog/en_tw?section=kt#justice)
เนื้อหาในตอนนี้ดูเหมือนแตกต่างออกไปเนื่องจากโครงสร้างของภาษาฮีบรู เนื้อหานี้ประกอบไปด้วยการเล่นคำต่างๆ ชื่อของเมืองต่างๆ ถูกใช้เพื่ออธิบายถึงวิธีการที่พวกเขาจะถูกทำลาย ยกตัวอย่างเช่น "ลาชิช" ในภาษาฮีบรูมีความหมายเท่ากับ "รถม้ารบทั้งหลาย" นี่เป็นสำนวนกวีที่อาจไม่ใช่วิธีการที่จะถูกลงโทษอย่างแท้จริง
มีคาห์ไม่ได้อธิบายบ่อยครั้งเกี่ยวกับวิธีการเผยพระวจนะของเขาในเชิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการแปลเกี่ยวกับข้อมูลที่มีนัยสำคัญได้ถ้าหากผู้แปลไม่เข้าใจยุคสมัยของมีคาห์ ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำว่าผู้แปลควรมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของอาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์ด้วย (ดูที่: /WA-Catalog/en_tw?section=kt#prophet)
มีคาห์มักจะไม่ได้กล่าวถึงผู้ที่กำลังพูดหรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง การอ่านข้อพระคัมภีร์ก่อนและหลังเนื้อหาตอนนั้นจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจว่าใครคือคนที่กำลังพูดหรือใครคือคนที่กำลังถูกกล่าวถึง การทำให้ข้อมูลส่วนนี้ชัดเจนเพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้นย่อมทำได้ (ดูที่: /WA-Catalog/en_tm?section=translate#figs-explicit)
ULB ใช้ภาษาที่เป็นสำนวนกวีเหมือนกับเนื้อความภาษาฮีบรู มีภาษาจำนวนมากที่สามารถจัดอยู่ในรูปแบบเช่นนี้ได้แต่บางภาษาไม่สามารถทำได้ ULB จึงแยกส่วนที่เป็นสำนวนกวีออกจากเนื้อความทั่วไปโดยการวางบรรทัดที่เป็นสำนวนกวีเยื้องไปทางด้านขวาของหน้ากระดาษเมื่อเทียบกับเนื้อหาส่วนที่เหลืออื่นๆ พระธรรมทั้งเล่มนี้จึงมีรูปแบบที่มีย่อหน้าเว้าเข้าไปเนื่องจากคำเผยพระวจนะถูกเขียนเป็นชุดสำนวนกวี ยกเว้นข้อที่หนึ่ง