บทนำ 3 ยอห์น

ส่วนที่ 1: บทนำทั่วไป

โครงร่างพระธรรม 3 ยอห์น
  1. บทนำ (1:1)
  2. คำหนุนใจและคำสั่งสอนเพื่อแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (1:2-8)
  3. ดิโอเตรเฟสกับเดเมตริอัส (1:9-12)
  4. บทสรุป (1:13-14)
ใครคือผู้เขียนพระธรรม 3 ยอห์น?

จดหมายนี้ไม่ได้ระบุชื่อของผู้เขียน ผู้เขียนเพียงแค่กล่าวถึงตัวเองว่าเป็น "ผู้ปกครอง" (1:1) เป็นไปได้ว่าจดหมายนี้ถูกเขียนโดยอัครทูตยอห์นในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา

พระธรรม 3 ยอห์นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด?

ยอห์นเขียนจดหมายนี้ถึงผู้เชื่อที่ชื่อว่ากายอัส เขาได้สั่งสอนกายอัสให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนผู้เชื่อที่กำลังเดินทางไปยังถิ่นของเขา

ชื่อของพระธรรมนี้ควรแปลว่าอย่างไร?

ผู้แปลสามารถเลือกที่จะเรียกพระธรรมนี้โดยใช้ชื่อของพระธรรมตามประเพณีได้คือ "3 ยอห์น" หรือ "สามยอห์น" หรือสามารถเลือกชื่อของพระธรรมที่ชัดเจนมากกว่านี้ อย่างเช่น "จดหมายฉบับที่สามที่ยอห์นเขียน" (ดูที่: /WA-Catalog/en_tm?section=translate#translate-names)

ส่วนที่ 2: ศาสนาที่สำคัญกับแนวคิดต่างๆ ทางวัฒนธรรม

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คืออะไร?

ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คือแนวคิดที่สำคัญของตะวันออกใกล้ยุคโบราณ การมีมิตรภาพต่อคนต่างชาติทั้งหลายหรือคนภายนอกและการจัดเตรียมเพื่อช่วยเหลือพวกเขาตามความจำเป็นนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ใน 2 ยอห์น  ยอห์นได้ยับยั้งพวกคริสเตียนจากการแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่พวกผู้สอนเท็จ ใน 3 ยอห์น ยอห์นได้หนุนใจพวกคริสเตียนให้แสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับผู้สอนที่สัตย์ซื่อทั้งหลาย

ส่วนที่ 3: ประเด็นสำคัญที่ต้องแปล

ผู้เขียนใช้ความสัมพันธ์ในครอบครัวในจดหมายของเขาอย่างไร?

ผู้เขียนได้ใช้คำศัพท์คำว่า "พี่น้อง" และ "ลูกทั้งหลาย" ซึ่งอาจทำให้สับสนได้ พระคัมภีร์มักจะใช้คำศัพท์คำว่า "พี่น้อง" เพื่อกล่าวถึงพวกคนยิว แต่ในจดหมายนี้ใช้เพื่อกล่าวถึงพวกคริสเตียน ยอห์นเรียกผู้เชื่อบางคนด้วยว่าเป็น "ลูกทั้งหลาย" คือบรรดาผู้เชื่อที่เขาได้สอนให้เชื่อฟังพระคริสต์

ยอห์นใช้คำศัพท์คำว่า "คนต่างชาติ" ซึ่งอาจทำให้สับสนได้ด้วยเช่นกัน พระคัมภีร์มักจะใช้คำศัพท์คำว่า "คนต่างชาติ" เพื่อกล่าวถึงประชาชนที่ไม่ใช่คนยิว แต่ในจดหมายนี้ ยอห์นใช้คำนี้เพื่อกล่าวถึงคนที่ไม่เชื่อในพระเยซู